ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจนักที่ ศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอของกลุ่ม True และบุตรชายคนที่สามของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ จะได้รับการโปรโมทขึ้นเป็นซีอีโอใหญ่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group) เพราะหลายคนก็มองออกอยู่แล้วว่า เจ้าสัวเตรียมดันบุตรชายคนนี้มาสืบทอดตำแหน่งตั้งแต่ต้น ขึ้นกับว่าจะเมื่อไรเท่านั้น ในโอกาสที่กลุ่มซีพีกำลังอยู่ในช่วงผลัดใบอย่างเป็นทางการ Brand Inside ขอวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ของซีพีในยุคของศุภชัย ดังต่อไปนี้ (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); ซีพีสู่รุ่นที่สาม สุภกิตนั่งประธาน ศุภชัยเป็นซีอีโอ เครือ CP เริ่มก่อตั้งจากร้านเจียไต๋ มาตั้งแต่ ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) โดยสองพี่น้องชาวจีน นายเจีย เอ็ก ซอ และเจีย โซว ฮุย จากนั้น ลูกๆ ของทั้งสองก็เข้ามารับช่วงกิจการต่อในฐานะผู้สืบทอดรุ่นที่สอง ธนินท์ถือเป็นบุตรคนที่ 5 ของนายเจีย เอ็กซอ แม้จะเป็นบุตรคนเล็กที่สุด แต่สุดท้ายเขาก็ขึ้นมาเป็นผู้นำของเจียรวนนท์รุ่นที่สอง และนำพากิจการขยายมาจนยิ่งใหญ่ถึงทุกวันนี้ ธนินท์ มีบุตรชายสามคนคือ สุภกิต ณรงค์ ศุภชัย และบุตรสาวสองคนคือ วรรณี กับทิพาภรณ์ ตามแนวทางของธุรกิจคนจีนที่สืบทอดธุรกิจผ่านลูกชาย โดยสุภกิต ลูกชายคนโต และณรงค์ ลูกชายคนที่สองถูกส่งไปคุมธุรกิจที่เมืองจีนเป็นหลัก (สุภกิตดูธุรกิจภาพรวมทั้งหมดในจีน ส่วนณรงค์ดูค้าปลีก) ในขณะที่ศุภชัย ลูกชายคนที่สามถูกมอบหมายธุรกิจด้านโทรคมนาคม การเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ถือเป็นการผลัดใบของ CP เข้าสู่ยุคที่สามอย่างเต็มตัว โดยเจ้าสัวธนินท์ถูกดันขึ้นไปเป็นประธานอาวุโส แต่งตั้งสุภกิต เจียรวนนท์ บุตรชายคนโตมาเป็นประธาน ณรงค์เป็นรองประธาน และมอบหมายให้ศุภชัยเป็นซีอีโอ เท่ากับว่ามหาอาณาจักรซีพีอยู่ภายใต้การดูแลของสามพี่น้อง “สุภกิต-ณรงค์-ศุภชัย” ไปเรียบร้อยแล้ว ศุภชัยให้สัมภาษณ์กับ Nikkei Asian Review ว่าถึงแม้จะได้นั่งเก้าอี้ซีอีโอใหญ่ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก และหวังว่าจะเพิ่มประสบการณ์ให้ตัวเองได้มากกว่านี้ ก่อนเจ้าสัวธนินท์เกษียณตัวเองอย่างเต็มตัว ศุภชัยจะเป็นผู้นำของซีพีเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ในอีกไม่ช้านี้ (ครบ 100 ปีในปี 2564) น่าจับตาว่าภายใต้การนำของเขา ซีพีแห่งศตวรรษใหม่จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร Brand Inside มองว่าสิ่งที่น่าจับตาของซีพีรุ่นที่สามมีทั้งหมด 5 ประเด็น ดังนี้ 1) ขยายธุรกิจ ดึงผู้บริหารคนนอกมาเสริมทัพ สมดุลระหว่างคนในตระกูลเจียรวนนท์กับผู้บริหารคนนอก ถึงแม้แกนหลักของบริษัทจะยังเป็นคู่พี่น้องสุภกิต-ศุภชัย แต่ในยุคของเจ้าสัวธนินท์เองก็เริ่มเปลี่ยนผ่านให้ผู้บริหารมืออาชีพที่เป็นคนนอกตระกูล มานั่งกุมอำนาจสำคัญในบริษัทลูกขนาดใหญ่มานานแล้ว เช่น CPF ที่มี อดิเรก ศรีประทักษ์ หรือ CP All ที่มีก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ดูแลมาโดยตลอด ดังนั้นผู้บริหารคนนอกตระกูลถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเครือซีพี ในระยะยาวแล้วด้วยกิจการที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตระกูลเจียรวนนท์จะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการใช้ผู้บริหารคนนอกให้มากขึ้น ซึ่งเทรนด์นี้ก็น่าจะยิ่งชัดเจนขึ้นในยุคของสุภกิต-ศุภชัย ที่สรรหาผู้บริหารมืออาชีพทั้งจากในไทยและต่างประเทศ มาเสริมทัพให้เครือซีพีอย่างต่อเนื่อง 2) ผลัดเปลี่ยนรุ่นผู้บริหาร สร้างขุนพลกลุ่มใหม่ ในระยะแรก ทิศทางของซีพีไม่น่าจะเปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก แต่ในระยะยาว สิ่งที่น่าสนใจคือการผลัดเปลี่ยนรุ่นของผู้บริหารรุ่นเดิมที่ทำงานกับเจ้าสัวธนินท์มานาน มาสู่ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่จะเข้ามารับภาระสำคัญของธุรกิจในเครือ ในฐานะขุนพลของสุภกิต-ศุภชัย 3) เชื่อมต่อ-ประสานงานระหว่างกลุ่มธุรกิจในเครือให้มากขึ้น นอกจากนี้ การผสานงานกัน synergy ระหว่างธุรกิจในเครือก็น่าจะชัดเจนมากขึ้น ต่างไปจากยุคปัจจุบันที่แต่ละกลุ่มธุรกิจยังแยกการทำงานที่ค่อนข้างเป็นเอกเทศระหว่างกัน 4) นำนวัตกรรม-ไอที ขับเคลื่อนธุรกิจ ศุภชัย นั่งเป็นซีอีโอของ True มานาน และเป็นแกนหลักในการก่อตั้ง Ascend ซึ่งเป็นสองกลุ่มธุรกิจที่ไฮเทคที่สุดในเครือซีพี ในยุคที่เทคโนโลยีด้านไอทีกลายเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ เขาย่อมใช้ประสบการณ์ที่ True มาผลักดันให้เครือซีพีไฮเทคขึ้นอย่างแน่นอน และจุดขับเคลื่อนสำคัญก็ย่อมเป็นกลุ่ม True/Ascend นั่นเอง 5) เร่งเกียร์บุกจีน ขยายความร่วมมือระดับภูมิภาค ซีพีถือเป็นบริษัทต่างชาติรายแรกที่เข้าไปลงทุนในจีนหลังเปิดประเทศ และช่วงหลังเราก็เห็นการขยายตัวของซีพีในจีนที่ชัดเจนมาก ยุทธศาสตร์ของซีพีใช้วิธีร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ของจีนหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น Ping An ที่ซีพีเข้าไปซื้อหุ้น, SAIC ด้านรถยนต์, CITIC ด้านการลงทุนและการเงิน, China Mobile ที่เข้ามาลงทุนใน True และล่าสุดคือ Alibaba ที่เข้ามาลงทุนใน Ascend ในจังหวะที่เศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น กลุ่มซีพีที่เป็นพันธมิตรกับธุรกิจจีนมายาวนานย่อมไม่พลาดโอกาสนี้ และเราคงจะได้เห็นความร่วมมือระหว่างซีพีกับบริษัทจีนรายอื่นๆ มากขึ้นด้วย อภิมหาดีล Ascend พบ Alibaba จะเป็นอย่างไรต่อ? สำรวจอาณาจักรซีพี ยิ่งใหญ่จนต้องแบ่ง 13 กลุ่มธุรกิจ ปัจจุบันเครือซีพีแบ่งหน่วยธุรกิจของตัวเองออกเป็น 13 กลุ่ม โดยแบ่งเป็นกลุ่มธุรกิจในไทย 10 กลุ่ม และธุรกิจในจีนอีก 3 กลุ่ม ข้อมูลตามที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของ CP มีดังนี้ ธุรกิจในไทย กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าธุรกิจค้าปลีก ได้แก่ ซีพีออลล์ (7-Eleven) และสยามแม็คโคร (Makro) กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ได้แก่ บริษัทเจียไต๋ จำกัด ถือเป็นธุรกิจดั้งเดิมของตระกูลเจียรวนนท์ กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ซีพี.อินเตอร์เทรด, บริษัท ข้าวซีพี และบริษัทท่าเรืออยุธยาและไอซีดี กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์เมล็ดพันธุ์ (CP Seeds) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม (CP Engineering) กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บริษัท ซี.พี.แลนด์ กลุ่มธุรกิจพลาสติก เน้นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ทั้งร้านค้าปลีกและการเกษตร ได้แก่ บริษัท ซีพีพีซี (CPPC) กลุ่มธุรกิจสัตว์เลี้ยง ได้แก่ บริษัทเพอร์เฟคต์ คอมพาเนียน กรุ๊ป เน้นการขายอาหารสัตว์เลี้ยงในหลายแบรนด์ เช่น มีโอ สมาร์ทฮาร์ท กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เน้นการจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์และลอจิสติกส์ในหลายประเทศ ปัจจุบันบริษัทในเครือซีพีที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 5 มีทั้งหมด บริษัท ได้แก่ CPF, CP-All, Siam Makro, True Corporations, CP-Land นอกจากนี้ ยังมีบริษัทอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครือซีพี ที่ไม่ได้ระบุชื่อบนเว็บไซต์ของกลุ่มซีพีอีกด้วย เช่น กลุ่มบริษัทดีที เจ้าของแบรนด์ Magnolia และ Whizdom ซึ่งบริหารงานโดย ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์ ลูกสาวคนสุดท้องของเจ้าสัวธนินท์ หรือ Ascend Group กลุ่มธุรกิจไฮเทค-อีคอมเมิร์ซที่แยกตัวมาจากกลุ่ม True แบรนด์ย่อยๆ ของเครือ CP ในปัจจุบัน ธุรกิจในจีน กลุ่มธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรม มี SAIC-CP Motor บริษัทร่วมทุนกับ SAIC ยักษ์ใหญ่ของวงการรถยนต์จีน ทำตลาดไทยในแบรนด์ MG และ ECI Group ที่ทำมอเตอร์ไซค์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรมแบรนด์ Caterpillar กลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร มี ธนาคารเชงสิน (ZhengXin Bank) และผิงอันประกันภัย (Ping An Insurance) กลุ่มธุรกิจเวชภัณฑ์ มีบริษัท Sino-Bio Pharmaceutical ที่ซีพีไปลงทุนไว้ นอกจากนี้เครือ CP ยังกระจายการลงทุนไปทั่วโลก โดยเฉพาะธุรกิจด้านอาหารและอาหารสัตว์ รถยนต์แบรนด์ MG ที่ร่วมลงทุนกับ SAIC ของจีน จับตา True ยุคใหม่ ภายใต้ซีอีโอคนใหม่ การเปลี่ยนผ่านของกลุ่มซีพีครั้งนี้ ย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่ม True อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะตำแหน่งซีอีโอเดิมของศุภชัยจะว่างลง และ True จะต้องสรรหาซีอีโอคนใหม่ ซึ่งศุภชัยก็ให้สัมภาษณ์ว่าน่าจะเสร็จกระบวนการสรรหาซีอีโอคนใหม่ภายในไตรมาสที่ 1-2 ของปีนี้ โดยขึ้นกับการพิจารณาของบอร์ด ระหว่างนี้เขาจะยังดำรงตำแหน่งซีอีโอไปก่อน การโอนถ่ายอำนาจภายในกลุ่ม True ก็น่าจะเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะศุภชัยก็ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้รับรู้กันภายในบริษัทมาได้สักพักแล้ว และเขาเองก็จะยังนั่งเก้าอี้เป็นบอร์ดของ True ต่อไป ในแง่ทิศทางและนโยบายของ True ก็คงไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก ศุภชัยยังให้สัมภาษณ์ว่า ทิศทางของ True จะเน้นเรื่อง Telecom Logistics มากขึ้น แทนการเป็นผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมเพียงอย่างเดียว ตรงนี้คงสอดคล้องกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั่วโลก ที่เริ่มผันตัวไปทำบริการและคอนเทนต์กันมากขึ้น True ยุคใหม่ที่ไม่มีศุภชัยเป็นซีอีโอแล้ว จะก้าวไปทางไหน? ที่มา – กรุงเทพธุรกิจ, Nikkei Asian Review
เว็บไซต์ www.tomtom.com ผู้พัฒนาแอพลิเคชั่นการเดินทาง รายงานเมืองที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุด ปี 2018 ใน จาก 403 เมือง ใน 56 ประเทศ พบว่า กรุงเทพมหานคร ติดอันดับที่ 8 ขณะที่ มุมไบ ประเทศอินเดีย ครองแชมป์อันดับ 1 โดยพบว่าสภาพความหนาแน่นของการจราจรมากมากขึ้นต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี สำหรับ 10 อันดับแรก ที่มีการจราจรหนาแน่นมากที่สุด ได้แก่ 1. มุมไบ อินเดีย มีระดับความแออัด 65% 2. โบโกตา โคลอมเบีย มีระดับความแออัด 63% 3. ลิมา เปรู มีระดับความแออัด 58% 4. นิวเดลี อินเดีย มีระดับความแออัด 58% 5. มอสโคว รัสเซีย ระดับความแออัด 56% 6. อิสตัลบูล ตุรกี มีระดับความแออัด 53% 7. จาการ์ตา อินโดนีเซีย มีระดับความแออัด 53% 8. กรุงเทพมหานคร ไทย มีระดับความแออัด 53% 9. เม็กซิโกซิตี้ เม็กซิโก มีระดับความแออัด 52% 10. เรซีฟี บราซิล มีระดับความแออัด 49%
ผลการชันสูตรร่างกายของ น.ส.ธิติมา นรพันธ์พิพัฒน์ หรือ ลัลลาเบล ออกมาแล้วในวันนี้ โดยพบแอลกอฮอล์ในเลือดปริมาณมากถึง 418 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตจากการช็อกแอลกอฮอล์ (alcohol intoxication) ทั้งนี้ จากการคำนวณพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงที่น้ำหนัก 50 กิโลกรัม หากดื่มเหล้าเพียวที่มีแอลกอฮอล์ 35% โดยแต่ละช็อตมีปริมาตรเท่ากับ 40 มิลลิลิตร และดื่มในเวลาสั้นๆ เพียง 2 ชั่วโมง หากดื่มประมาณ 10-11 ช็อต ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้มีแอลกอฮอล์ในเลือดสูงใกล้เคียงกับระดับแอลกอฮอล์ที่พบในร่างกาย น.ส.ธิติมา ทั้งนี้ ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ระบุว่าหากในเลือดมีแอลกอฮอล์เกิน 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ถือเป็นระดับที่อันตราย จะทำให้ตาพร่า ขาดสติโดยสมบูรณ์ หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ อ้างอิงตัวเลขการคำนวณจาก https://globalrph.com/medcalcs/blood-alcohol-calculator-bac-metric-of-alcohol-intoxication/
ถ้าให้พูดถึงบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของจีน บริษัทที่เป็นผู้นำและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคงหนี้ไม่พ้น 3 บริษัทนี้ ได้แก่ Baidu (ไป่ตู้), Alibaba (อาลีบาบา) และ Tencent (เทนเซ็นต์) ทั้งนี้ผู้คนในแวดวงเทคโนโลยีและการลงทุน มักจะเรียกกลุ่ม 3 บริษัทนี้รวมๆ กันว่า BAT ซึ่งมาจากการรวมอักษรตัวแรกของทั้ง 3 บริษัทเข้าด้วยกันนั้นเอง โรบิน หลี่ (Robin Li) CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Baidu สำหรับบริษัทแรก Baidu มีบริการหลักๆ คือการเป็นเสิร์ชเอนจินอันดับ 1 ของประเทศจีน เทียบง่ายๆ ได้ว่าเป็น Google สำหรับคนจีนนั่นเอง โดยบริษัท Baidu ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2000 โดยผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คน คือนายโรบิน หลี่ (Robin Li) ซึ่งปัจจุบันเป็น CEO อยู่ด้วย และอีกคนคือนายอีริค ซู (Eric Xu) ปัจจุบัน Baidu มีมูลค่าตลาดประมาณ 36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีพนักงานอยู่ประมาณ 46,000 คน แจ็ค หม่า (Jack Ma) ประธานบริษัทและผู้ร่วมก่อตั้ง Alibaba บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีนอีกแห่งที่คนไทยน่าจะรู้จักดีคือ Alibaba ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1990 โดย แจ็ค หม่า (Jack Ma) ธุรกิจหลักของ Alibaba คือการเป็นตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน โดยมีหลายเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) และระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง (C2C) ไม่ว่าจะเป็น Alibaba.com, Tmall.com, Taobao.com และ Aliexpress.com นอกจากนี้ Alibaba ยังได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจบริการชำระเงินด้วย โดยเป็นผู้ก่อตั้งและบริษัทแม่ของบริษัท Ant Financial ที่มีบริการชำระเงินที่หลายคนรู้จักในชื่อ Alipay ตัวเลขล่าสุดในปี 2018 ระบุว่าเฉพาะ Alipay มีผู้ใช้กว่า 870 ล้านคน ถือเป็นผู้ให้บริการชำระเงินผ่านมือถือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร Alibaba ทำให้บริษัทที่ แจ็ค หม่า ก่อตั้งแห่งนี้ปัจจุบันเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดของจีน ที่กว่า 432,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 14 ล้านล้านบาท) และมีพนักงานรวมกว่า 1 แสนคน โพนี่ หม่า (Pony Ma) หรือ หม่า ฮั่วเถิง (Ma Huateng) ประธานบริษัท CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง Tencent และยักษ์ใหญ่ตัวสุดท้ายของบริษัทเทคโนโลยีจีนก็คือ Tencent ซึ่งหลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ผลิตเกมสุดฮิตหลายตัว เช่น PlayerUnknown’s Battlegrounds (PUBG) และ Arena of Valor โดยปัจจุบัน Tencent เป็นบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่นอกจากธุรกิจเกมแล้ว Tencent ยังทำธุรกิจอีกหลายอย่าง โดยเป็นเจ้าของมีโซเชียลมีเดียและโปรแกรมแชทยอดนิยมอย่าง QQ และ WeChat นอกจากนั้นแล้ว Tencent ยังถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ Alibaba ในธุรกิจบริการชำระเงินด้วย โดยมีธุรกิจบริการชำระเงินของตัวเองที่ชื่อ Tenpay Tencent ถือเป็นบริษัทจีนแห่งแรกที่มีมูลค่าตลาดเกิน 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และแม้ว่าปัจจุบันมูลค่าตลาดจะลดลงมาเหลือไม่ถึง 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ก็ยังถือเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของจีน (เป็นรองเพียง Alibaba) ความสำเร็จอย่างสูงของ Tencent ส่งผลให้ โพนี่ หม่า (Pony Ma) ผู้ร่วมก่อตั้ง CEO และประธานของบริษัท เป็นคู่แข่งเพียงคนเดียวของ แจ็ค หม่า ที่สลับกันขึ้นเป็นบุคคลที่รวยที่สุดของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
คนฉลาดชอบทำเรื่องง่าย แต่ผมชอบทำเรื่องยาก ยากแบบมีอนาคต ยิ่งไม่รู้ ยิ่งต้องศึกษา “เสี่ยง 30 ชนะ 70 ถ้าความเสี่ยงนั้นไม่ทำให้เราล้มละลาย ผมพร้อมจะเสี่ยง” วิกฤติกับโอกาสเป็นของคู่กัน: ก่อนวิกฤติอย่าเหลิง เจอวิกฤติอย่าท้อและอย่าตาย เลือกทิ้งบางอย่าง รักษาส่วนสำคัญให้รอด ซีพีไม่ได้ผูกขาด แต่ทำก่อน เหมือนขึ้นเวทีต่อยมวยคนเดียว สะดุดขาล้มไปนับ 10 ตื่นขึ้นมาก็เป็นแชมป์ เพราะไม่มีคู่ต่อย การทำงานคือการไปเที่ยว แต่ทำงานแล้วต้องพัก: หลักการ 8-8-8-8 (สี่แปด) กิน 80%, นอน 8 ชั่วโมง, เดิน 8,000 ก้าว, ดื่มน้ำให้ได้ 8 แก้ว และกินไข่ไก่วันละ 2 ฟอง ดีใจกับความสำเร็จได้วันเดียว และให้เวลาเสียใจกับความล้มเหลวได้วันเดียวเช่นกัน มีคนวัย 80 ปี จำนวนน้อยมากที่ยังแข็งแรง และมีจำนวนน้อยกว่า ที่นอกจากแข็งแรงแล้วยังไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเองเลยสักวัน หนึ่งในนั้นคือ “เจ้าสัวธนินท์” หรือ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรืออาณาจักรซีพี ซึ่งตระกูลเจียรวนนท์ยังคงเป็นตระกูลมหาเศรษฐีของไทยที่ครองความร่ำรวยเป็นอันดับ 1 ประจำปี 2562 จากการรายงานของนิตยสารฟอร์บส์ ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 2.95 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 9.41 แสนล้านบาท ใครๆ ก็คงอยากรู้แนวความคิดการทำธุรกิจของแม่ทัพใหญ่แห่งซีพีอย่าง “เจ้าสัวธนินท์” ไปจนถึงเรื่องการดูแลสุขภาพและการใช้ชีวิต ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมีโอกาสได้ฟังจากตัวเจ้าสัวเอง แต่เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา “เจ้าสัวธนินท์” ได้มาร่วมพูดคุยบนเวทีทอล์กแห่งปี “Exclusive Talk ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” เกี่ยวกับหนังสือเล่มแรกที่เขียนเอง “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” โดยใช้เวลาถึง 8 ปี ในการรวบรวมแนวคิดปรัชญาการทำงานกว่า 50 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งเรื่องราวชีวิตไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ที่สุด ณ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 24 ห้อง The Portal Ballroom อิมแพ็ค เมืองทองธานี ดำเนินรายการโดย “หนุ่มเมืองจันท์” สรกล อดุลยานนท์ นักเขียนและคอลัมนิสต์ชื่อดัง ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ที่เจ้าสัวธนินท์ได้มาพูดคุย เต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจและน่าศึกษาจากชายวัย 80 ปีคนนี้อย่างยิ่ง “ทีมข่าวเวิร์คพอยท์” จึงได้นำสาระประโยชน์แบบจัดเต็มมาฝากผู้อ่านทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ ยก “แจ็ค หม่า” เป็นอาจารย์ แต่ไม่ลงทุนกับ “อาลีบาบา” เจ้าสัวธนินท์ ยกให้ “แจ็ค หม่า” เป็นอาจารย์ แต่เพราะไม่เข้าใจรูปแบบการทำงานของ “อาลีบาบา” จึงไม่ลงทุน “ผมได้ฟังคนเก่งๆ อย่าง แจ็ค หม่า แห่ง อาลีบาบา ผมยกเขาเป็นอาจารย์ แต่ฟังเขาพูดแล้วผมไม่กล้าลงทุน เพราะยังไม่เข้าใจเรื่องรูปแบบ ความสำเร็จของผม หรือของซีพี คือเราต้องเห็นก่อนว่า เรื่องนี้เขาสำเร็จมายังไง เรามีโอกาสไหมที่จะเอามาต่อยอด แต่ไปคุยกับแจ็ค หม่า นี่ฟังไม่รู้เรื่อง ทั้งที่ไปเข้าคอร์สอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ต ที่ฮ่องกง ก็ยังไม่เข้าใจ ตอนนั้นเราไปหาแจ็คหม่าเองเลย เขาไม่ได้ชวนเราลงทุน แต่เราไปหาเขาเอง เราก็รู้ว่าเทรนด์มันจะมาแบบนี้ แต่ไปฟังเขาแล้วไม่เข้าใจ เพราะเขาไม่มีรูปแบบให้เห็นว่าจะเป็นยังไง เรายังชินกับว่ารูปแบบนี้สำเร็จแล้ว เราเอามาต่อยอดกับประเทศที่กำลังพัฒนา เขาบอกว่ารู้จักผมตั้งแต่เขายังเด็ก แต่ผมไม่รู้จักเขา มารู้จักตอนเขาดังแล้ว ตอนนั้นถ้าไปลงทุนกับเขาก็ได้กำไรหลายร้อยเท่านะครับ แต่ไม่กล้า มองไม่ชัด คิดไม่ออกว่าจะสำเร็จได้ยังไง แต่เขาดันมีความเชื่อมั่นของเขา ผมเชื่อมั่นว่าเขามองเห็นแล้วล่ะ แต่เรามองไม่เห็น เขามองเห็นภูเขาเป็นทองทั้งภูเขา แต่เรามองเห็นต้นไม้กับหินกับดิน ก็ยังไม่กล้าลงทุนกับเขา” กำเนิด “เซเว่น อีเลฟเว่น” ในเมืองไทย: ลงทุนกับสิ่งที่เห็นชัดว่าสำเร็จแน่นอน แค่ข้อแรกก็เริ่มเห็นแนวคิดการทำธุรกิจเบื้องต้นของเจ้าสัวธนินท์กันแล้วว่า แม้ธุรกิจบางอย่างจะมีโอกาสสำเร็จสูง แต่หากไม่เข้าใจธุรกิจนั้นจริงๆ มองไม่เห็นภาพความสำเร็จ เขาจะไม่ลงทุน สิ่งที่เหมือนกันของ “เจ้าสัวธนินท์” กับ “แจ็ค หม่า” คือ การมองเห็นภาพความสำเร็จที่ชัดเจน เจ้าสัวธนินท์มองไม่เห็นโอกาสของอาลีบาบา แต่มองเห็นโอกาสของ “เซเว่น อีเลฟเว่น” ที่ฝรั่งทำสำเร็จมาแล้วในอเมริกา และแม้ฝรั่งจะค้านหัวชนฝาว่าไม่ควรลงทุนในเมืองไทย แต่เจ้าสัวธนินท์คิดต่าง “ผมเห็นว่าเขาทำสำเร็จแล้วในอเมริกา ผมก็ศึกษาแล้วว่า ถ้าเรามาทำที่เมืองไทย ผมเห็นชัดว่าผมสำเร็จแน่นอน ฝรั่งบอกเมืองไทยไม่พร้อม รายได้ประชากรน้อยกว่าอเมริกาตั้ง 10 กว่าเท่า ไม่คุ้มที่จะลงทุน แต่เคล็ดลับของผมที่เขาคาดไม่ถึงคือ เขานี่ 1 คนมาซื้อ เท่ากับเราตั้ง 15 คน มาซื้อ จำนวนเงินนะครับ รวมแล้วถึงจะได้ต่อบิลเท่ากับเขา ดูแล้วยังไงก็ไม่คุ้ม แต่เขาลืมคิดว่าค่าใช้จ่ายเราก็ถูกกว่าเขา 15 เท่าเหมือนกัน แล้วถ้าคิดเฉลี่ยจริง มองลึกลงไปอีก อาจจะ 10 คนก็พอ เราจ้างพนักงงานกับเราเปิดร้าน ต้นทุนเราถูกกว่าเขา 10 กว่าเท่าเหมือนกัน มันก็เจ๊ากัน” คนฉลาดชอบทำเรื่องง่าย แต่ผมชอบทำเรื่องยาก และต้องมีอนาคต หนุ่มเมืองจันท์ถามเจ้าสัวธนินท์ว่า บางเรื่องเราก็เห็นโอกาส แต่บางเรื่องเราก็ไม่เห็น ทำไมท่านเห็นโอกาสของเซเว่น แต่ไม่เห็นโอกาสของอาลีบาบา เจ้าสัวจึงย้ำความเชื่อที่ต้องมองเห็นความสำเร็จ ต้องเห็นของจริงก่อนนำไปต่อยอด “อาลีบาบามันไม่มีตัวตน เรามองไม่เห็น มันเป็นภาพเล่าเฉยๆ ผมยังเป็นคนล้าสมัยหน่อย คือต้องเห็นของจริงแล้วเอาไปต่อยอด ทีนี้ความสำเร็จของผมเนี่ย ทุกคนมองแล้วว่าเมืองไทยมันเป็นไปไม่ได้ ตรงนี้ถ้าผมคิดไม่เหมือนคนอื่นก็คือ อะไรที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าผมทำสำเร็จ ก็คนอื่นไม่ได้ทำ ผมทำแต่ผู้เดียว เหมือนผมเลือกของที่ยาก คนฉลาดไม่เอาหรอกครับ คนฉลาดชอบทำอะไรที่ง่ายและสำเร็จได้ง่าย แต่ผมไม่ใช่ ผมต้องดูว่ายากที่สุด แล้วมีอนาคตไหม ถ้ายากแล้วไม่มีอนาคต ผมก็ไม่เอาเหมือนกัน แต่ถ้ายากแล้วมีอนาคต ธุรกิจตัวนี้ยิ่งใหญ่ ผมจะเข้าไป” กำไรน้อย ขายมาก ไม่ได้หมายถึง กำไรน้อย กำไรมาก ขายน้อย ไม่ได้หมายถึง กำไรมาก เจ้าสัวธนินท์ยกตัวอย่างเรื่องยากที่ทำสำเร็จ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักดั้งเดิมของซีพี นั่นคือการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในสิ่งที่ทำว่าต้องศึกษา ต้องทำเป็น ต้องรู้ให้จริง และนำเทคโนโลยีที่ว่ายากเข้ามาช่วยให้ง่าย “อย่างเลี้ยงไก่ 1 หมื่นตัว ถ้าเป็นอเมริกาเมื่อ 50 ปีก่อน คนนึงเลี้ยงไก่ได้หมื่นตัว คนไทยเลี้ยงได้ 500 ตัว ทุกคนดูแล้วบอกเขาจบมัธยม จบมหาวิทยาลัยมาเลี้ยงไก่ เราเอาเกษตรกรมาเลี้ยงไก่ได้ยังไง เขาเลี้ยงได้หมื่นตัว เราไม่ได้หรอก ไม่มีทาง แต่ผมคิดว่า ที่ทุกคนบอกว่าไม่ได้ เราต้องศึกษาดู ถ้าเราทำสำเร็จล่ะ ก็เขาทำได้ ทำไมเราจะทำไม่ได้ ก็ไปเอาอาจารย์เขามา เอาความรู้เขามา แล้วสุดท้ายเราก็ต้องรู้จริง ตัวเราเองต้องเลี้ยงไก่เป็น ผมรู้จริงว่าที่เขาสำเร็จไม่ใช่เพราะเกษตรกรคนนึงเลี้ยงได้หมื่นตัว เขามีทีมงานตั้งกี่ทีมมาช่วยเขา เขาถึงสำเร็จ เราก็มีทีมพวกเราตรงนี้อยู่แล้ว ตรงนี้แหละที่ผมจึงทำสำเร็จ เมื่อ 50 กว่าปีก่อน เกษตรกรคนนึงเลี้ยงไก่ได้หมื่นตัว ตัวนึงกำไร 20 บาท ถ้าเลี้ยง 100 ตัว เดือนนึงได้กำไร 1,000 บาท ถ้าเลี้ยงหมื่นตัวได้ 30,000 บาท กำไรตัวละ 3 บาทก็พอ ไม่ต้องถึง 20 บาท คนจนก็ถึงจะมีโอกาสได้ซื้อไก่ไปกิน คนส่วนใหญ่ถึงจะมีโอกาส ตอนนั้นส่งไปญี่ปุ่นได้ด้วย เพราะต้นทุนถูกและคุณภาพสูง กำไรน้อย ขายมาก ไม่ได้หมายถึงกำไรน้อย, กำไรมาก ขายน้อย ไม่ได้หมายความว่ากำไรมาก, กำไรน้อย ขายมาก คือกำไรมาก, กำไรมาก ขายน้อย คือกำไรน้อย หมายถึง ไก่แต่ละตัวกำไรไม่เยอะ แต่จำนวนมันเยอะ แล้วคนไม่เข้าใจว่าตาสีตาสาจะไปใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้ยังไง นี่เข้าใจผิด ผู้ผลิตเทคโนโลยีคือยาก แต่ผู้ใช้เนี่ยมันง่าย ต้องเข้าใจตรงนี้ว่าเราไม่ได้ไปผลิตเทคโนโลยี แต่เราเอาความรู้ เอาประสบการณ์ที่เขาสำเร็จ ที่เขามาถ่ายทอดให้ทำตาม แล้วไม่ใช่เกษตรกรทำทุกเรื่อง เรื่องที่ยากบริษัทใหญ่เป็นคนทำ เรื่องที่ง่ายเกษตรกรเป็นคนทำ เช่น เรื่องไก่หมื่นตัว การทำวัคซีนเนี่ยเกษตรกรไม่ต้องทำ เรามีทีมงานโดยเฉพาะ ถ้าให้เกษตรกรทำเองนี่ไม่มีทาง กว่าจะจับเสร็จคงทั้งคืน คนก็เหนื่อย ไก่ก็เหนื่อย เรามีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยทำ ทำความสะอาดให้ด้วย เอาขี้ไก่ไปขายให้ด้วย นี่เป็นหน้าที่เรา ความสำเร็จอยู่ตรงนี้มากกว่า เพราะเราพร้อมทุกขั้นตอน ครบวงจร ผมเคยพูดว่า “กำไรมาก ขายน้อย ไม่ได้หมายความว่ากำไรมาก”, “กำไรน้อย ขายมาก ไม่ได้หมายความว่ากำไรน้อย” ฉะนั้น ถ้าเป็นสตาร์ทอัพต้องดูว่า ถ้าสำเร็จแล้ว วันนี้ยังเล็กก็ไม่เป็นไร แต่มันมีโอกาสยิ่งใหญ่ แล้วเวลามันสำเร็จ เราก็จะมีโอกาสยิ่งใหญ่” ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก: โลกเปลี่ยน อาหารเปลี่ยน การศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อมูล เป็นสิ่งที่เจ้าสัวธนินท์ทำอยู่เสมอ เพื่อปรับให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลง อย่างเรื่องเทรนด์อาหาร ที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น เจ้าสัวก็กำลังพัฒนาสิ่งที่จะนำมาทดแทนเนื้อสัตว์ และหาทางทำให้น้ำมันหมูมีโอเมก้า 3 อยู่ “คนเข้าใจผิดว่าผมทำอาหารสัตว์ คืออาหารสัตว์ต้องไปเลี้ยงสัตว์ แต่ผมทำอาหารคน อย่างไก่ เป็ด กุ้ง หมู คือคนกิน ถ้ายังมีมนุษย์อยู่ ก็ยังมีธุรกิจตัวนี้คู่อยู่ เพียงแต่เราต้องปรับให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนแปลง อย่างเวลานี้กำลังสนใจอาหารสุขภาพ เราก็ต้องตามให้ทันว่าโลกกำลังเปลี่ยน จะผลิตมังสวิรัติโดยใช้ถั่วอย่างที่อเมริกาเขาทำกัน เราก็ทำได้ กำลังเอายีนส์สร้างเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่จริงๆ ตัวนี้ต้นทุนยังสูง แต่ก็ไม่ละเลย เราก็ต้องลงไปศึกษาเกี่ยวกับไบโอเทคโนโลยีแล้วเข้าไปจับมือกับอเมริกา ฮาร์เวิร์ด ค้นคว้าเรื่องยีนส์ของหมู แล้วก็มาพัฒนาให้กลายเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่เทียม ตัวนี้ยังห่างไกล แต่ตัวที่ใช้ถั่วมาทำเป็นเนื้อเทียม เป็นไส้กรอกหรืออะไร ตัวนี้สำเร็จแน่นอน แต่ในเวลาเดียวกัน เราก็มีนโยบายชัด ทำยังไงให้การเลี้ยงหมู ตั้งแต่เรื่องอาหารไปจนถึงสายพันธุ์ ทำยังไงให้น้ำมันหมูเป็นโอเมก้า 3 เหมือนน้ำมันปลา กินแล้วเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ให้เป็นคอเลสเตอรอลที่ดี ตรงนี้สำเร็จไป 80% แล้ว ไข่ไก่ก็เป็นคอเลสเตอรอลที่ดี ผมกินอย่างน้อยวันละ 2 ฟอง ผมรู้ว่าไข่ไก่เป็นประโยชน์มาก” การทำธุรกิจไม่มีสูตรสำเร็จ และเทคโนโลยีที่ดีที่สุดก็ไม่จำเป็นเสมอไป การทำธุรกิจของเจ้าสัวธนินท์ไม่ได้มีสูตรสำเร็จแค่อย่างเดียว แต่เลือกใช้ให้เหมาะสม อย่างการเลือกใช้เทคโนโลยีก็เช่นกัน เกษตรกรต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงสุด แต่ขณะเดียวกันตอนที่ทำมอเตอร์ไซค์ขายที่เมืองจีน เจ้าสัวเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม มากกว่าเทคโนโลยีที่ดีที่สุด โดยมองจากความเป็นจริงว่าจีนขาดแคลนมอเตอร์ไซค์ สิ่งที่เจ้าสัวคิดต่อคือ แล้วมอเตอร์ไซค์แบบไหนที่เหมาะกับคนจีน เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลจีนต้องการเงินตราต่างประเทศ จึงประกาศหาเอเย่นต์ขายมอเตอร์ไซค์ไปทั่วโลก เมื่อเจ้าสัวถามว่ามอเตอร์ไซค์นั้นให้คนจีนในประเทศใช้ได้หรือไม่ ทางรัฐบาลตอบว่าได้ เจ้าสัวจึงมองว่าเรื่องดังกล่าวเหมือน “เส้นผมบังภูเขา” แทนที่จะขายออกไป ก็ขายให้คนจีนในเมืองจีนใช้ก็แล้วกัน โดยนำกลยุทธ์การขายเข้ามาเสริม เพื่อให้รัฐบาลได้เงินตราต่างประเทศมาใช้ “ผมไปลงทุนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของจีน ถูกด้วย แทบจะไม่ต้องเสียอะไร ว่าใครต้องการมอเตอร์ไซค์ก็ให้บอกญาติพี่น้องที่อยู่ต่างประเทศ ให้เอาเงินส่งมาที่ฮ่องกง แล้วเราก็ส่งเงินไปที่เซี่ยงไฮ้ให้รัฐบาล แล้วมอเตอร์ไซค์ก็ให้ญาติไปเอาจากเซี่ยงไฮ้ไปใช้ ตอนนั้นเติ้งเสี่ยวผิงบอกว่า เกษตรกรที่ส่วนเหลือแล้วเอาไปขายเองได้ แต่เกษตรกรเขาไม่มีรถบรรทุก ถนนก็เล็ก เขาใช้จักรยานกัน ผมก็เอามอเตอร์ไซค์มาขาย รีเสิร์ชแล้วว่า มอเตอร์ไซค์ของญี่ปุ่นที่ทนทาน แข็งแรง ปีนเขาได้ อดทน อะไหล่เป็นของฮอนด้า 4 จังหวะ ตอนที่ผมไปเจรจา ญี่ปุ่นเขาไม่ใช้แล้ว เขามีคันที่เล็กกว่า วิ่งได้เร็วกว่ารถน้ำมัน ผมก็เลยไปซื้อตัวนี้มา คือเหมาะสมที่สุดกับเมืองจีนในตอนนั้น เวลาเลือกเทคโนโลยีต้องเลือกที่เหมาะสม ไม่ใช่เอาอย่างดีที่สุด ซ่อมง่าย แข็งแรง ขนของได้ ปีนเขาได้ เลยเอาเทคโนโลยีตัวนี้เข้าไป ซื้อถูกมาก ก็เอาไปสร้างที่เมืองจีน ขาย 6 หมื่นคันทันที นี่คือเส้นผมบังภูเขา เราไปรับรู้ว่าตอนนั้นจีนขาดมอเตอร์ไซค์ แล้วคุณจะเอาไปขายต่างประเทศทำไม ก็เอาเงินตราให้คุณ แล้วคุณก็เอามอเตอร์ไซค์ให้คนจีนใช้ก็หมดเรื่อง วินวินทุกฝ่าย รัฐบาลก็แฮปปี้ เงินตราก็ได้ ประชาชนก็ได้เอามอเตอร์ไซค์ไปใช้ขนส่ง” เสี่ยง 30 ชนะ 70 และความเสี่ยงนั้นต้องไม่ทำให้ล้มละลาย ความคิดของเจ้าสัวธนินท์มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมในแต่ละเรื่อง และไม่มีสูตรสำเร็จที่เหมือนกินยาวิเศษเม็ดเดียวแล้วได้ทั้งหมด ซึ่งเจ้าสัวบอกว่าการทำธุรกิจย่อมมีความเสี่ยง แต่ต้องประเมินความเสี่ยง และความเสี่ยงนั้นต้องไม่ทำให้ล้มละลาย “ใครบอกว่าทำธุรกิจไม่มีความเสี่ยง ไม่มีความเสี่ยงก็อย่าทำครับ ทำต้องเสี่ยง อย่างซีพีเวลาทำใหญ่เนี่ย เสี่ยงแล้วมันอันตรายก็ต้องคิดว่า ไอ้ที่เสี่ยงนี่เราหนีไม่พ้นหรอก แต่ก็คิดแล้วว่า ถ้ามี 70% ได้ 30% มีโอกาสเสี่ยง ผมก็จะลงทุน ไม่มีอะไรที่ 100% หรือไม่มีอะไรที่ 50/50 แต่ถ้าโครงการนั้นมันใหญ่มากถึงขั้นทำให้ซีพีล้มละลายได้ ผมไม่เอาเลย นโยบายของเครือซีพีคือ เสี่ยงได้ แต่ต้องไม่ล้มละลาย อะไรเสี่ยงเกินตัว เราไม่เอา” เมื่อเจอวิกฤติต้องทิ้งบางอย่าง เพื่อรักษาส่วนสำคัญให้รอด คำว่า “มืดแปดด้าน” ก็เคยเกิดขึ้นกับเจ้าสัวธนินท์ ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งบริษัทมีหนี้ต่างประเทศ เจ้าสัวจึงต้องเลือกขายธุรกิจบางอย่างทิ้ง และรักษาธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมไว้ “ผมจะขายธุรกิจที่ผมสร้างขึ้นมาใหม่ก่อน ตอนวิกฤตินี่ต้องจำไว้ เรารักษาทุกอย่างไว้ไม่ได้ ต้องทิ้งบางอย่าง ดูว่าอันไหนสำคัญเราต้องรักษาไว้ แล้วก็สำคัญทั้งนั้นนะ สำคัญถึงจะขายได้ตอนวิกฤติเนี่ย ถ้าไม่สำคัญ ไม่ดี ก็ขายไม่ได้อีก เลยมีบทเรียนเตือนทุกท่านว่า เวลาจะทำอะไร ต้องทำที่โลกยอมรับ และเป็นธุรกิจที่มีอนาคต มิฉะนั้นเมื่อวิกฤติแล้วให้เขาฟรีเขายังไม่เอาเลย บังเอิญเราทำของใหม่ ตอนนั้นมี ทรู, โลตัส, แมคโคร, เซเว่นอีเลฟเว่น 4 ธุรกิจใหม่ ผมขายโลตัสก่อน เพราะคนเห็นว่าธุรกิจนี้ดีมาก อังกฤษเป็นคนมาซื้อยังพูดตรงๆ กับผมว่า คุณทำเหนือกว่าผมที่อังกฤษอีก ราคาเราขายเท่าไหร่เขาไม่ต่อรองเลย เขาซื้อแล้วยังเหลือ 25% ให้เราอีก ผมก็พอใจแล้วว่า อืม ตอนนั้นอังกฤษคบได้ทีเดียว เราก็ไปคืนหนี้ อันที่สองผมขายแมคโคร เราต้องคืนหนี้ให้หมด เพราะบริษัทแม่นี่ถ้าไม่คืนหนี้ให้หมดคือล้มละลาย เครดิตทั่วโลกหายหมดเลยทีนี้ แต่เจ้าของแมคโครนี่เราต้องบอกว่าเราเลือกคนถูกต้อง เขาก็เห็นใจ แล้วถ้าตอนนั้นผมขายโทรศัพท์อันเดียวนี่จบเลย ไม่ต้องขายแมคโครกับโลตัสหรอก คือตอนนั้นโทรศัพท์ยังดีมาก พอมีเทคโนโลยีเกิดใหม่ ธุรกิจตัวนี้ไม่มีความหมายไปเลย อันนี้ประเมินผิด อย่างโลตัสจะซื้อกลับนี่เขาบอกต้องหมื่นล้าน U.S. แมคโครซื้อกลับมา 6 พันกว่าล้าน U.S. เสียดาย แต่ไม่ได้ เพราะเรือมันเจอพายุแล้ว เราต้องทิ้งของบางส่วน รักษาเรือลำนี้ให้อยู่รอดก่อน แล้วค่อยหาคืนมา นี่เป็นของจริง ประสบการณ์บอกเราว่า ถ้าตอนนั้นอันนี้ก็จะรักษาไว้ อันนู้นก็จะรักษาไว้ สุดท้ายล้มทั้งลำ ก็เหลือเฉพาะที่มีอนาคต โดยเฉพาะที่พี่น้องสร้างเอาไว้ ยังไม่ทันขายเซเว่น ขายแค่แมคโคร, โลตัส เราก็ผ่านวิกฤติแล้ว” วิกฤติและโอกาสเป็นของคู่กัน: ตอนมีอย่าเหลิง ตอนเจออย่าท้อ และอย่าตาย เจ้าสัวธนินท์เป็นคนที่ชอบศึกษา และ “วิกฤติ” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าสัวศึกษาและได้บทเรียน “ความจริงวิกฤติเป็นโอกาสเหมือนกันนะ ลองไปศึกษาให้ดีๆ ผมชอบศึกษาและเป็นบทเรียนของเราด้วย อยากเตือนทุกท่าน ตอนที่ดีที่สุด ตอนที่เรารุ่งเรืองที่สุด เราต้องคิดตลอดเวลาแล้วว่า ถ้าเกิดมันมืดลงมาล่ะ เกิดวิกฤติมา เรารับไหวไหม เราต้องทำการบ้านแล้วนะ อย่าเหลิง แต่ตอนที่วิกฤติแล้วมืดที่สุด อย่าท้อใจ แสงสว่างจะมาแล้ว ตอนวิกฤติ ตอนกำลังแย่ๆ นี่ อย่าตาย ถ้าตายไปก็เอาคืนไม่ได้ หมดโอกาส วิกฤติตามมาด้วยโอกาส โอกาสก็จะตามมาด้วยวิกฤติ อันนี้คู่กัน เมื่อผ่านวิกฤติได้ต้องคิดแล้วว่า หลังจากวิกฤติแล้วมีโอกาสอะไร เราต้องเตรียม” คำนึงถึงพี่น้องและพนักงาน: ขายแล้วต้องขยายด้วย แม้อยู่ในช่วงประสบวิกฤติเศรษฐกิจ แต่เจ้าสัวก็ไม่ละเลยความรู้สึกของพี่น้องและพนักงาน โดยให้พี่น้องอีก 3 คน ไปเที่ยวพักผ่อนให้สบายใจ เพื่อจะได้เป็นคนที่ปวดหัวคนเดียวพอ ซึ่งจะทำให้มีเวลาคิดแก้ไขปัญหา และแม้ปัญหาจะถาโถม ก็ยังเลือกมองไปข้างหน้า นอกจากขายบางอย่างเพื่อรักษาส่วนสำคัญให้รอดแล้ว เจ้าสัวมองว่ายังต้องขยายด้วย “เรื่องวิกฤติมีความน่าสนใจ 1. เรื่องพี่น้อง ถ้าเราไม่เครียด ไม่ต้องมานั่งรับโทรศัพท์พวกเขา เราจะมีเวลานั่งคิดแก้ปัญหา 2. เวลาเรืออับปาง ต้องโยนบางอย่างทิ้ง 3. แค่รักษาเฉยๆ ไม่ได้ ต้องขยายด้วย เพื่อหาเงินอื่นๆ เสริมมา และเป็นเรื่องขวัญกำลังใจพนักงาน อนาคตเราต้องขยายอีก ขยายธุรกิจที่เราเห็นว่าดี ถ้าเราไม่ขยาย ก็กินของเก่าเท่านั้น ก็ไม่ได้ โลกมันเปลี่ยนแปลง ถ้าตอนนั้นใครมีเงินขยายก็จะได้เปรียบที่สุด เพราะของถูกที่สุด” สนับสนุนคนเก่ง และสร้าง “ผู้นำ” ที่ดี ซีพีเป็นองค์กรใหญ่มาก ทั่วโลกมีพนักงาน 3 แสนกว่าคน สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือการพัฒนาบุคลากร โดยเฉพาะผู้นำ ซึ่งเจ้าสัวธนินท์ให้ความสำคัญกับการสร้าง “ผู้นำ” เป็นอย่างมาก และมอบเวลาส่วนใหญ่ให้กับสถาบันฝึกผู้นำของซีพีที่เขาใหญ่ โดยให้เด็กจบใหม่ฝึกปฏิบัติงานจริง ด้วยการตั้งงบประมาณ 1 แสนบาท ให้เด็กทำธุรกิจอะไรก็ได้ ขาดทุนไม่เป็นไร ขอเพียงกล้าทำ โดยไม่มีอะไรครอบงำ ให้เด็กนำเสนอเส้นทางที่จะพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ แล้วเจ้าสัวจะตั้งคำถามถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น ฝึกให้เด็กคิดแก้ไขปัญหา ต้องกล้าเอาปัญหามาพูด ที่สำคัญคือต้องรู้กำไรขาดทุนทุกวัน โดยเจ้าสัวจะเป็นคนคอยชี้แนะ แต่ไม่ชี้นำ “ดีที่สุดในการพัฒนาคนคือต้องให้เขาลงมือทำ ต้องให้อำนาจ แล้วเขาจะสนุก ต้องให้เขาคิดเอง ทำเอง เราเพียงแต่ให้ข้อเสนอแนะ อย่าไปชี้นำ ทำผิดก็ถือเป็นค่าเล่าเรียน ให้เขารู้ว่าอันนี้เขาทำเสียหายไปแล้ว เขาผิดพลาดแล้ว ก็ให้โอกาสทำต่อ การสนับสนุนคนเก่ง ต้องให้อำนาจเป็นอันดับ 1 เพื่อให้เขาแสดงความสามารถ อย่าไปกำกับ อย่าไปครอบงำเขา อย่าไปชี้นำ ชี้แนะได้แล้วให้เขาทำ ให้เขาแสดงความสามารถ และให้เกียรติ ต้องมีตำแหน่ง ตามด้วย เงิน ทำงานมาก เงินก็ต้องมากพอสมควร ผู้นำนี่สำคัญมาก ต้องเอาผลประโยชน์ตัวเองอยู่เป็นที่ 3 ผลประโยชน์ที่ 1 ต้องเป็นบริษัท เพราะบริษัทไม่มีวิญญาณ ตัวผู้นำต้องใส่วิญญาณให้บริษัท ถ้าเขาเห็นแก่ตัว บริษัทล้มละลายแน่ ต้องเห็นแก่บริษัทก่อน แล้วก็พนักงาน เพื่อนร่วมงาน จะเป็นผู้นำได้ ตัวเองต้องอยู่ที่ร้อนได้ แม้จะเป็นธุรกิจตัวเอง คุณก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อบริษัทที่ตั้งขึ้นมา แล้วก็เพื่อพนักงาน พนักงานต้องมาก่อนคุณ เพราะถ้าไม่มีเพื่อนร่วมงานช่วยทำ คุณคนเดียวจะสำเร็จได้ยังไง” เคารพคนเก่งด้วยความจริงใจ มองจุดเด่น อย่ามองจุดอ่อน วิธีเรียนลัดของเจ้าสัวธนินท์คือการไปพบคนเก่ง เพื่อให้คนเก่งเป็นอาจารย์ โดยไม่ต้องมองเรื่องอายุ หรือจุดด้อย จุดอ่อน ให้มองที่จุดเด่น และเคารพนับถือเขาด้วยความจริงใจ “เราต้องยอมรับของใหม่ๆ ผมไม่ได้ดูถูกคนที่จบใหม่เลย ที่ผมสร้างอยู่นี่ (สถาบันฝึกผู้นำ) รับรองปีนึงเขาเป็นผู้จัดการได้ เผลอๆ เก่งกว่าผู้จัดการอีก เพราะทำจริง ไปสัมผัสจริง เราเพียงแต่ชี้แนะ แล้วคนเก่งในโลกนี้โผล่ขึ้นมาเรื่อย เราเรียนลัดที่สุดคือไปคุยกับเขา ไปยอมให้เขาเป็นอาจารย์ อย่างผมพอมีชื่อเสียง ถ้าผมยอมไปเคารพเขา ผมว่าคนเก่งในโลกนี้ ไม่มีใครปฏิเสธคนที่มาเรียนรู้กับเขา มาเคารพเขา มีความจริงใจกับเขา ยกย่องเขา ผมชอบยกย่องคนอื่น คนเก่งอยู่ที่ไหน ผมไม่เคยไปมองความด้อยเขาเลย ถ้าจะดูความด้อย ทุกคนก็มีจุดอ่อน พนักงานก็เหมือนกัน เพื่อนร่วมงานก็เหมือนกัน ผมต้องมองว่าความเก่งเขาอยู่ตรงไหน หาจุดเด่นของเขาให้เจอ แล้วเราก็จะเคารพนับถือเขาด้วยความจริงใจ ถ้าเราไปมองจุดอ่อนเขา คุยกับเขาแล้วบางทีก็ดูถูกเขาแล้วล่ะ แต่ความจริงเขามีจุดแข็งกว่าเราเยอะบางอย่าง ฉะนั้น ผมจึงชอบเรียนรู้ ทุกวันนี้ผมก็ยังเรียนรู้ แล้ววันนี้ผมมีข้อดีอยู่ว่า ผมเคารพนับถือคนหนุ่มสาว เด็กเพิ่งจบ เพราะผมรู้ว่าเด็กทุกคนเก่ง แล้วผมก็คัด บริษัทก็คัดหัวหน้านักเรียน พวกทำกิจกรรมมา แล้วก็ให้โอกาสเขา ให้เป็นเถ้าแก่น้อยเลย ทำไมให้เป็นเถ้าแก่ เพราะผมก็เคยทำเถ้าแก่เล็ก ทุกอย่างต้องรู้หมด ต้องรู้เรื่องบัญชี การเงิน รู้จักจัดซื้อ รู้จักขาย เพราะเรายังเล็ก ไปจ้างคนเก่งๆ เขาก็ไม่มา ถ้าไปจ้างคนไม่เก่งก็สู้เราไม่ได้ ฉะนั้น คำว่า “เถ้าแก่” ต้องรู้ทุกเรื่อง แต่พอธุรกิจใหญ่ขึ้น เราก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญเรื่องนี้โดยเฉพาะ เราก็จ้างเขาไหว เขาก็อยากจะมา ดีทั้งคู่ ตอนที่เรายังเล็กอยู่ คนเก่งเราก็จ้างเขาไม่ไหว มันก็เล็กเกินไปสำหรับความสามารถเขา ดังนั้น ผมตั้งเป็นเถ้าแก่น้อย พอ 6 เดือนขึ้นมาเป็นเถ้าแก่เล็กแล้ว ปีนึงเป็นเถ้าแก่กลางได้แล้ว ถ้ามีผลงาน” เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเฮงด้วย อายุเป็นเพียงตัวเลข เพราะคนวัย 80 อย่างเจ้าสัวธนินท์ ยังรับความรู้ใหม่ๆ ได้เรื่อยๆ โดยมีเทคนิคคือต้องเปิดใจกว้าง และมองว่าคนที่จะสำเร็จได้ต้องมีทั้งความเก่งและเฮงประกอบกัน “เราเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องบวกเฮงด้วย บวกโอกาสด้วย ทุกคนมีโอกาส เพียงแต่โอกาสมากหรือน้อย โอกาสมาเร็วหรือช้า บางคนอายุ 60 แล้วถึงจะเจอโอกาส เรื่องอย่างนี้ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ผมเจอโอกาสมาเร็ว แล้วผมก็ทุ่มเท สู้ ผ่านวิกฤติ ผ่านปัญหา ยิ่งผ่านวิกฤติมากก็ยิ่งเก่งขึ้นมาก คนที่ประสบความสำเร็จเหมือนกัน แต่คนนึงผ่านวิกฤติมาก่อน อีกคนราบรื่น คนผ่านวิกฤติมาเก่งกว่าเยอะ ดังนั้น ผมเข้าใจคนหนุ่ม ผมอายุ 21 ก็ทำงานแล้ว แต่วันนี้คนหนุ่มที่จบมาอายุ 22 จบมหาวิทยาลัยมา ความรู้มากกว่าผมเยอะแยะ เพียงแต่เขาขาดโอกาส ผมคิดว่าการเรียนนี่ไม่ต้องถึง 4 ปีหรอก มหาวิทยาลัยเรียนมากไปแล้วครับ ถ้าจะเรียน 4 ปี เรียนไปทำงานไปดีกว่า ออกมาเรียนครบ 4 ปี เป็นผู้จัดการได้เลย การปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ รู้จริง อย่าไปเสียเวลาอ่านทฤษฎี เคสบางเคสเราเอามาใช้จริงไม่ได้ เพียงแต่เอามาเป็นไกด์ไลน์ เป็นข้อมูลได้ จริงๆ แล้วต้องทำไปแก้ไป พวกสตาร์ทอัพที่สำเร็จมีตำราที่ไหน อย่าง “แจ็ค หม่า” ไม่มีตำรา ทำไป แก้ไป เปลี่ยนแปลงไป พัฒนาไป” ทำเรื่องใหม่ต้องใช้คนใหม่ เพราะลูกวัวไม่กลัวเสือ เจ้าสัวธนินท์กล่าวถึงการทำเรื่องใหม่ๆ ว่า ที่จริงคนเก่าก็ใช้ได้ แต่ช้ากว่าใช้คนใหม่ คนเก่ารู้เรื่องเก่า ถ้ารู้ยิ่งลึก เปลี่ยนยิ่งยาก แต่คนใหม่นั้นเหมือน “ลูกวัวไม่กลัวเสือ” กล้าคิด กล้าทำ “เรื่องใหม่ต้องใช้คนใหม่ ผมเคยพูดอยู่คำนึงว่า ลูกวัวไม่กลัวเสือ คนเก่า เวลาจะให้เปลี่ยนทำเรื่องใหม่ กลายเป็นว่า เขาเคยทำเรื่องนี้สำเร็จ ทำได้ผลมาก แต่พอไปทำเรื่องใหม่นี่ เขาไม่รู้ ไม่เคยทำ ถ้าไม่เคยทำ อย่าเพิ่งทำ บัวช้ำน้ำขุ่น เอาคนใหม่มาทำ แล้วไม่ต้องเสียเวลาไปล้างสมองเขา คนเก่าติดความเคยชินเดิม แต่ถ้าเราเอาคนใหม่ทำของใหม่ แล้วทำให้คนเก่าเห็น อันนั้นเปลี่ยนได้ เพราะมนุษย์จะไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง” เราทำทุกเรื่องไม่ได้ ต้องเลือก และทำสิ่งที่ถนัด เพราะเป็นคนเก่งที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก จึงมีโอกาสต่างๆ พุ่งเข้าหาเจ้าสัวธนินท์อย่างมหาศาล แต่เจ้าสัวไม่เลือกที่จะคว้าไว้ทั้งหมด แต่เลือกที่จะทำธุรกิจที่จำกัดความได้ 2 อย่าง คือ อาหารสมอง และ อาหารอิ่มท้อง “มีอะไรที่อยากทำอีกเยอะ แต่มันไม่ไหวหรอกครับ ต้องเลือกทำ เพราะพลังเราก็มีจำกัด แล้วเราไม่ใช่เก่งทุกเรื่อง เราต้องเลือกอะไรที่เราถนัด แต่สำคัญต้องเลือกที่มีอนาคต เราทำธุรกิจทุกเรื่องไม่ได้หรอก คนมองว่าเราไปเรื่องโทรศัพท์ ไปเรื่องทีวีทำไม ผมตั้งว่าเป็นเรื่อง “อาหารสมอง” มนุษย์จะขาด 2 เรื่องไม่ได้ คือ ความรู้ซึ่งเป็นอาหารสมอง ดูทีวี ฟังเพลง เป็นความสุข ก็เป็นอาหารสมอง ได้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ก็จากอาหารสมอง ซีพีทำ 2 เรื่อง อีกเรื่อง
วันที่ 1 พ.ย. 2562 เวลา 09:39:49
บทวิเคราะห์ ซีพียุคผลัดใบ ‘เจ้าสัวธนินท์’ ส่งต่อเก้าอี้ซีอีโอใหญ่ให้ ‘ศุภชัย’ ...อ่าน 3,092
วันที่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 17:03:51
สังคม กรุงเทพฯ อันดับ 8 เมืองรถติดที่สุดในโลก สังคม กรุงเทพฯ อันดับ 8 เมืองรถติดที่สุดในโลก ...อ่าน 2,865
วันที่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 16:57:30
ต้องดื่ม เหล้าเพียว กี่ช็อต ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจึงเกิน 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ...อ่าน 3,958
วันที่ 17 ต.ค. 2562 เวลา 16:55:01
ธุรกิจ รู้จัก “BAT” 3 ยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีจีน ...อ่าน 3,144
โตเกียว 2020 เผยสัญลักษณ์ประเภทกีฬาในโอลิมปิกส์แล้ว
ไก่ย่างวิเชียรบุรี ต้นตำหรับของแท้
ส่องชีวิตติดดิน ธนา ชนะบุตร อดีตนักฟุตบอลทีมชาติ ชีวิตแสนจะเรียบง่ายของลูกผู้ชายไก่ชน
ไม่ธรรมดา เมื่อไก่ชนสายพันธ์ไทย ไปเติบโตไกลถึงสวิสเซอแลนด์
หลุดโลโก้ช้างศึก 14 แบบ ที่ผ่านเข้ารอบประกวด
หน้าหมวยสวยใสวัยรุ่นชอบกับอาหารไก่ชน แทบใจละลาย
รู้จักน้องมอร์นิ่ง มิสไก่ชนไทยแลนด์ 2017 ดีกรีนักวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ทุ่งดอกหญ้าหิมะ บ้านทุ่งขุนน้อย ต.แจระแม อ.เมืองอุบลราชธานี
ไก่ชน ประกาศศักดา คว้าแชมป์แกะสลักหิมะนานาชาติ ณ ประเทศญี่ปุ่น
ต้องดื่ม เหล้าเพียว กี่ช็อต ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจึงเกิน 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
บทวิเคราะห์ ซีพียุคผลัดใบ ‘เจ้าสัวธนินท์’ ส่งต่อเก้าอี้ซีอีโอใหญ่ให้ ‘ศุภชัย’
สังคม กรุงเทพฯ อันดับ 8 เมืองรถติดที่สุดในโลก สังคม กรุงเทพฯ อันดับ 8 เมืองรถติดที่สุดในโลก
ธุรกิจ รู้จัก “BAT” 3 ยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีจีน
ถอดคมคิดธุรกิจและการใช้ชีวิตของ “เจ้าสัวธนินท์” สู่ “ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว” หนังสือที่เจ้าสัวใช้เวลาเขียนถึง 8 ปี
แคลิฟอร์เนียห้ามผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากขนสัตว์
แจ็ค หม่า v อีลอน มักส์: สรุปข้อถกเถียง “มนุษยชาติและอนาคตจะอยู่รอดได้ หากเราไม่ปิดตนเอง”
สำรวจห้องเรียน ครอบครัว และวัฒนธรรมสวีเดน ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของ เกรต้า ธันเบิร์ก