หลังจากเจ้าของฟาร์มไก่ชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ใช้ชื่อเฟสบุ๊คว่า พงศธรฟาร์ม หนองบุญมาก โพสขอความคิดเห็นจากกลุ่มคนรักไก่ชน ว่าเมื่อวานสาธารณสุขมาตรวจฟาร์มผมจะให้ผมทำให้ได้หรือใกล้เคียงกับฟาร์มไก่เนื้อซึ่งผมทำไม่ได้หรอกครับผมเลี้ยงไก่ชนให้ผมขออนุญาติต่างๆลึกลับซับซ้อนจริงๆเอาแบบบัญญัติของไก่เนื้อมาใช้ต้องมีห้องปลอดเชื้อแบบนั้นแบบนี้ขอถามหน่อยครับว่าเพื่อนๆเคยเจอแบบผมไม ถ้าไม่ทำหรือมีปัญหาจะให้ปศุสัตว์มายึดไก่ผมว่างั่น ขอความคิดเห็นหน่อยครับ บอกว่าถ้าเลี้ยงไก่เกิน30ตัวจะต้องขออนุญาติ
ไขขอกระจ่างที่ผู้เลี้ยงไก่ชนต้องรู้เอาไว้ หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกเมื่อปี 47 สร้างความเสียหายให้กับหลายธุรกิจ ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐต้องหาทางป้องกันและเข้มงวดกับการเลี้ยงสัตว์ปีกหรือไก่มากขึ้น พร้อมมีกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ ออกมาเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้ไข้หวัดนกแพร่ระบาดขึ้นอีกหลายอย่าง ซึ่งกฎระเบียบต่าง ๆ เหล่านี้ บางทีก็ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ชนสับสน ไม่เข้าใจ ทำให้มองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ไก่ชนเพียงไม่กี่ตัว ต้องมีขั้นตอนมากมาย กฎระเบียบและมาตรการที่เข้มงวดในการเลี้ยงสัตว์ปีกทุกชนิด ไม่เฉพาะไก่ชน กำหนดมารองรับกับการเลี้ยงไก่ในระบบอุตสาหกรรมที่เป็นฟาร์มมาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
แต่กับไก่พื้นเมืองทั่วไป แม้มีมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคออกมา แต่ก็ไม่ถึงกับเข้มงวดมากนัก จนเกษตรกรทั่วไปไม่สามารถเลี้ยงไก่ได้เลย ซึ่งการเลี้ยงไก่พื้นเมืองจะเข้าข่าย เทศบัญญัติ เรื่องการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กำหนดว่า เลี้ยงไก่ 20 ตัวขึ้นไปเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องขออนุญาตจากเทศบาล หรือ อบต และต้องทำเป็นระบบปิด ส่วนการเลี้ยงเป็นฟาร์มเพื่อการค้า เกินกว่า 2,000 ตัว ต้องขออนุญาตจากกรมปศุสัตว์จังหวัด
แต่ก็มีข้ออนุโรม การเลี้ยงไก่พื้นเมืองหรือไก่ชนไม่ได้ถือว่าเป็นฟาร์ม ยิ่งหากเลี้ยงในพื้นที่บริเวณบ้านเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายในชุมชน เกษตรกรสามารถดำเนินการเลี้ยงได้เลย แต่ทว่ารูปแบบการเลี้ยงต้องมีความเหมาะสม เช่น ต้องให้ไก่อยู่ในพื้นที่บริเวณที่จำกัด พร้อมทั้งมีรั้วรอบขอบชิด เนื่องจากสัตว์ปีกเคยมีปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาเหล่านี้ จึงค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะไก่เนื้อที่เลี้ยงในระบบฟาร์ม(2000 ตัวขึ้นไป ) ซึ่งต้องเข้าสู่ระบบมาตรฐานทั้งหมด หากฟาร์มไหนที่ยังไม่ได้มาตรฐานก็จะไม่อนุญาติให้นำไก่มาลงเลี้ยงโดยเด็ดขาด ทำให้เกษตรกรที่เลี้ยงไก่เนื้อทุกรายเข้าสู่มาตรฐาน แต่สำหรับไก่พื้นเมืองหรือไก่ชนรูปแบบการเลี้ยงจะต่างจากการเลี้ยงไก่เนื้อที่เป็นระบบฟาร์มใหญ่ การนำระบบมาตรฐานไก่เนื้อมาใช้จึงยังไม่เหมาะสมเท่าไดนัก ส่วนใหญ่จึงใช้แค่การแนะนำรูปแบบการเลี้ยงที่เหมาะสมจากทางเจ้าหน้าที่เท่านั้น
“แต่ในกรณีที่ผู้เลี้ยงไก่ชนต้องการที่จะประกอบอาชีพนี้อย่างจริงจัง มีโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่ชนเป็นกิจลักษณะ และหากเลี้ยงไก่จำนวนมากๆ เกิน 2000 ตัวขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติของกระทรวงสาธารณะสุข ถือว่าการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพที่อาจสร้างความเดือนร้อนให้ชุมชน ส่งกลิ่นเหม็นรำคาญ ดังนั้นจำเป็นต้องขออนุญาติกับพื้นที่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้อยู่ ซึ่งหากเป็นฟาร์มใหญ่ฟาร์มต้องอยู่ไกลจากชุมชน หากอยู่ในแหล่งชุมชนอาจต้องมีการทำประชาพิจารย์ ซึ่งก็เป็นรายละเอียดของระบบมาตรฐานฟาร์ม รวมถึงต้องมีการเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย หรือหากผู้เลี้ยงไก่ชนท่านไดสงสัยก็สอบถามไปยัง กรมปศุสัตว์ 0-2653-4444 หรือขอคำปรึกษาปศุสัตว์ อำเภอใกล้เคียงได้ทุกแห่ง