ไก่ชนออนไลน์
13 กรกฎาคม 2568

เผยเบื้องหลังชื่อรัชสมัย “เรวะ” ของญี่ปุ่น


แชร์



“เก็งโง” (Gengo) หรือชื่อรัชสมัยของญี่ปุ่น กำลังจะเปลี่ยนจาก “เฮเซย์” มาเป็น “เรวะ” หลังมกุฎราชกุมารนารุฮิโตะจะขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิในวันที่ 1 พฤษภาคม แทนพระจักรพรรดิอากิฮิโตะที่ประกาศสละราชสมบัติในวันที 30 เมษายน ซึ่งนับเป็นการสละราชสมบัติครั้งแรกในรอบ 200 ปี

หนังสือพิมพ์เจแปนทูเดย์ รายงานว่า นายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะกล่าวว่าชื่อยุค “เรวะ” เลือกมาจากโดยมีความหมายว่าโอกาสที่วัฒนธรรมจะบังเกิดขึ้นจากความร่วม “เอาใจใส่กันและกันอย่างงดงาม” ของประชาชนและกล่าวว่าเลือกชื่อนี้เพื่อเป็นหมายแห่งเป็นการเริ่มต้นแห่งยุคสมัยใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยความหวัง

ตามธรรมเนียมที่สืบทอดมา1,300 ปีแล้ว ผู้มีอำนาจจะเลือกชื่อเก็งโงมาจากตัวอักษรจีนโบราณ แต่สำหรับครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เลือกมาจากวรรณกรรม หนังสือรวบรวมบทกลอน “มันโยชู (Manyoshu)” ที่แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 7 นับเป็นหนังสือรวมบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นและเป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่มรวยทางวัฒนธรรม สอดรับกับการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญก่อนหน้านี้ว่ารัฐบาลของชินโซะอาเบะซึ่งมีความอนุรักษ์นิยมสูงและมีข้อขัดแย้งกับจีนบ่อยครั้งน่าจะเลือกใช้ชื่อจากวรรณกรรมของญี่ปุ่นแทนการอ้างอิงความหมายมาจากจีน

การเลือกชื่อครั้งนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกที่ลดอำนาจพระจักรพรรดิลงและระบุว่าให้เป็นหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีแทน โดยคณะรัฐมนตรีทำตามกฎหมายลูกที่บัญญัติออกมาในปี 2522 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอักษรจีนและวรรณกรรมญี่ปุ่นร่วมกันคัดสรรชื่อที่เขียนและอ่านได้ง่ายแต่ไม่เป็นคำที่แพร่หลายจนเกินไปและต้องไม่เคยถูกใช้เป็นชื่อยุคมาก่อน หลังจากนั้นชื่อหลายชื่อด้วยกันก็จะถูกพิจารณาในการประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญ 9 คน โดยหนึ่งในนั้นมี มาริโกะ ฮายาชิ นักเขียนรางวัลโนเบลร่วมด้วย เพื่อคัดเลือกชื่อให้เหลือเพียง 2-5 ชื่อให้คณะรัฐมนตรีเลือก

นายโยชิฮิเดะ ซูกะ เลขาธิการคณะรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ประกาศชื่อนี้โดยแสดงภาพตัวอักษร 2 ตัวบนพื้นขาว กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่าเขา “หวังว่าชื่อยุคนี้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วกัน และฝังรากเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่น”

การประกาศชื่อยุคครั้งนี้มีขึ้นก่อนเปลี่ยนชื่อยุคจริงเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อให้ภาคธุรกิจและภาคส่วนอื่น ๆ ได้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงชื่อยุคซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสังคมญี่ปุ่นหลายด้าน เพราะแม้ปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นที่สะดวกใช้ปฏิทินแบบตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การนับปีตามรัชสมัยก็ยังใช้ในเอกสารราชการและเอกสารทางการของภาคเอกชน และเป็นชื่อที่คนญี่ปุ่นใช้ยึดโยงกับยุคของตนเอง

นอกจากนี้ การปลี่ยนชื่อยุคครั้งนี้ยังสร้างสีสันให้แก่การค้าตามท้องตลาด โดนมีการออกผลิตภัณฑ์แล้วใช้จุดขายว่า “ชิ้นสุดท้ายในยุคเฮเซย์” สร้างความคึกคักได้เป็นอย่างดี หรือคู่แต่งงานบางคู่เตรียมการแต่งงานในเดือนถัดไปเพื่อให้เอกสารแต่งงานตรงกับการเริ่มต้นของยุคใหม่ด้วย

ตั้งแต่เข้ายุคใหม่ ญี่ปุ่นมีชื่อรัชสมัยได้แก่ เมจิ ไทโช โชวะ เฮเซ และล่าสุดคือเรวะ


Tag :

ไก่ชนออนไลน์


เรื่องที่คุณอาจสนใจ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ

รับข่าวสารเพิ่มเติม